บทความบล็อกนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากเอกสาร Whitepaper ของ Barry Overeem เรื่อง 8 บทเรียนจาก Scrum Mater
หลังจากที่ได้อ่านประสบการณ์ส่วนตัวของ Barry แล้ว ผมได้ค้นพบความกระจ่างเกี่ยวกับประสบการณ์ดีๆ จากการได้ทำตำแหน่ง Scrum Master และได้เข้าใจดีเลยว่าผมสามารถเชื่อมโยงเรื่องราวนี้เข้ากับ Scrum Journey ของผมเอง ในขณะที่กำลังย้อนรอยกับความทรงจำที่ผมมีได้สะท้อนคิดถึงมุมมองที่สำคัญๆ จากประสบการณ์ที่เกิดขึ้น นั่นก็คือ การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องไม่หยุดนิ่ง
ในฐานะเป็น Scrum Master ผมได้ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้และการทดลองต่างๆ เสมอ ความเชื่อนี้ไม่เพียงกระตุ้นให้ผมปรับปรุงอยู่เสมอ แต่ยังช่วยให้ทีมงานของผมเรียนรู้และเติมโตร่วมกันไปพร้อมกันกับผมด้วย
ในการรับบทเป็นนักเรียนที่เรียนรู้จากประสบการณ์นี้ ผมพบว่า:
1. จงเอาตัวตนที่คิดว่ารู้แจ้งแล้วลง (เราจะพบกับความยิ่งใหญ่เมื่อเราได้ลดอัตตาตัวตนของเราลงแล้ว - โดย Rabindranath Tagore): คุณอาจจะได้เคยอ่านหนังสือทุกเล่มเกี่ยวกับ Scrum ที่มีอยู่ในโลกนี้มาแล้ว แต่อาจจะยังต้องเรียนรู้สิ่งใหม่จากคนอื่นที่ชอบทดลองเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ในการทำงาน ผมเป็นนักอ่านที่อ่านอย่างหนักหน่วงในช่วงปีแรกๆ ในฐานะเป็น Scrum Master และได้อ่านหนังสือกับบทความหลายเล่มในช่วงเวลานั้น นั่นทำให้ผมได้รับแนวคิดที่ผิดแปลกออกไปว่า “ทั้งหมดที่อ่านมาทำให้ผมได้รู้ทุกอย่างครบสมบูรณ์มากที่สุดแล้ว”
โชคดีหน่อยที่ผมได้ตัดสินใจสมัครอบรมการเป็น Professional Scrum Master กับสถานที่ที่ผมได้พบโอกาสขจัดอัตตาหรือ Ego ของตนเองทิ้งเสียได้ ผมได้เข้าไปอบรมพร้อมความตั้งใจว่าจะทดสอบความรู้ที่มีและผลการเรียนรู้ที่จะเกิดขึ้นมากกว่าแค่เรื่องของ Scrum (ป.ล. สิ่งสำคัญที่ได้มาจากการอบรมนั้นคือความสำคัญของการยึดมั่นในคุณค่าที่อยู่เบื้องหลังของ framework)
2. ความอยากรู้อยากเห็น (“ผมไม่มีความสามารถพิเศษอะไรเลย แต่เป็นคนมีนิสัยอยากรู้อยากเห็นแบบเข้าเส้นเลือดเลย” - อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์): ประสบการณ์ไม่ควรจะยับยั้งเราให้หยุดความอยากรู้อยากเห็น แต่ในทางกลับกัน มันควรส่งเสริมให้ยิ่งอยากรู้อยากเห็นมากขึ้นเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการโดยรวมของเรา ในฐานะ Scrum Master ผมได้พบกับโอกาสหลายครั้งที่จะได้มอบโซลูชั่นให้กับทีมงานซึ่งล้วนเป็นโซลูชั่นที่เกิดจากประสบการณ์ของผม สิ่งนี้ทำให้ผมรู้สึกดีใจและภูมิใจเป็นอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม ในไม่ช้าไม่นานผมกลับทำให้ทีมงานเกิดความเฉยชาเหมือนเป็นอัมพาต เพราะผมได้ริดรอนโอกาสที่พวกเขาจะได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และสำรวจสิ่งใหม่ ในระหว่างการคิดค้นโซลูชั่นที่ดีที่สุดที่เหมาะกับสถานการณ์ของพวกเขาเอง ผมไม่เพียงแค่ทำให้การเติบโตของทีมชะลอตัว แต่ผมพบว่าตนเองก็เติบโตช้าลงด้วยเช่นกัน หลังจากที่ได้เข้าใจถึงเรื่องนี้แล้ว ผมได้สร้างระบบที่นำมากำกับ Solution Habit เช่นนี้ ซึ่งทำให้ผมสร้างคำถามประเภท “ทำไม” (ให้กับตนเองและทีมงาน) ได้ ก่อนที่จะกระโจนลงไปยังโซลูชั่นต่างๆ ที่เคยมีมาจากประสบการณ์เดิม ระบบ Why system นี้ได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในการกระตึ้นให้ผมมีความอยากรู้ใคร่ถามอยู่ตลอดเวลาเสมอ
3. คำถาม (พรอันประเสริฐที่สุดเลยคือการไม่กลัวที่จะตั้งคำถาม” - รูบี้ ดี): ถึงแม้ว่าผมจะอ่านหนังสือ บทความ หรือ บล็อกมาเยอะทั้งชีวิตแล้วก็ตาม แต่เราได้ตั้งคำถามตัวเองในขณะที่อ่านหรือหลังจากอ่านสิ่งต่างๆ ไปหมดแล้วบ่อยเพียงใด? การตั้งคำถามนี้ได้แก่คำถามประเภทที่ว่า “สิ่งที่อ่านนี้สามารถนำมาเชื่อมโยงกับสถานการณ์ของเราได้อย่างไร?” , “สิ่งที่ได้รับรู้มานี้นั้นจะช่วยเหลือสถานการณ์ที่เราประสบอยู่ได้อย่างไร?” หรือ “แล้วสถานการณ์ของเราเองล่ะต่างจากสิ่งที่อ่านมาแล้วอย่างไร” คำถามเหล่านี้เป็นการถามเพื่อสำรวจตัวเราเองเพื่อที่จะเชื่อมโยงและเรียนรู้สิ่งใหม่ไปเรื่อยๆ
เราสามารถทดลองสิ่งเหล่านี้ได้กับการทำงานของเรา เหนืออื่นใด เราส่วนใหญ่มักไม่ค่อยถามคำถามสะท้อนคิดเท่าไร เพราะกลัวว่า “ฉันจะดูโง่ไปเลยหรือเปล่า” ทางที่ดีที่สุดคือการพยายามออกจากความรู้สึกว่าตัวเองโง่เสมอเป็นอย่างแรก และจากนั้นเริ่มถามคำถามเพื่อให้เกิดความชัดเจนและการตรวจสอบยืนยันสิ่งที่เราได้รับรู้มา
4. การแบ่งปันเสมอ (“ด้วยความรู้ที่ยิ่งใหญ่ มักจะมาพร้อมกับความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่กว่าที่ต้องแบ่งปันให้เกิดประโยชน์เสมอ”): การแบ่งปันคือส่วนที่สำคัญของการเรียนรู้และเติบโต ความเข้าใจของเราเกี่ยวกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดนั้นขึ้นอยู่กับว่าเราได้แบ่งปันแล้วสอนคนอื่นได้ต่อไปหรือไม่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราต้องไปจองปฏิทินของคนอื่นๆ อย่างไม่เต็มใจเพื่อขอเวลาคุยกับพวกเขาเป็นชั่วโมงในเรื่องที่พวกเขานั้นไม่ได้ให้ความสนใจใดๆ เลย
นั่นอาจจะเป็นแค่การอภิปรายเล็กๆ กับ mentor ประจำตัวคุณในช่วงพักดื่มชากาแฟ หรือพักทานอาหารกลางวัน โดยกำหนดหัวข้อที่จะอภิปรายเพื่อให้ผู้ฟังรู้สึกสนใจร่วมอภิปรายด้วย หากวิธีนี้ไม่ได้ผล ลองเปลี่ยนเป็นการเขียนบทความหรือบล็อกดูก็ได้ นั่นอาจจะช่วยปรับปรุงทักษะการเป็นนักเขียนและได้ตรวจสอบความรู้ของคุณไปในเวลาเดียวกันด้วย