ประโยชน์ต่างๆ ของเรื่องนี้นั้นมีให้เห็นชัดเจนและน่าสนใจมาก โดยร้อยละ 69 ของพนักงานจะปฏิเสธงานที่เสนอให้ตนหากว่าพวกเขาพบว่าพนักงานในองค์กรนั้นทำงานอย่างไม่มีความสุขเลย ในอัตราเฉลี่ยแล้ว พนักงานที่มีความสุขนั้นจะมีผลิตผลในการงานสูงกว่า โดยที่ร้อยละ 12 นั้นทำงานด้วยความแม่นยำมากกว่าพนักงานที่ไม่มีความสุขในการทำงาน สมมติว่าผลิตผลของงานและการดึงดูดให้พนักงานอยู่กับองค์กรได้นาน คุณควรต้องเก็บเกี่ยวความสุขของพนักงานเอาไว้เพื่อเป็นทรัพยากรพื้นฐานในการเริ่มต้น
องค์กรต่างๆ ทั่วโลกกำลังเริ่มลงทุนเพิ่มมากขึ้นในแนวคิดเรื่องความสุขของการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นนักพูดในที่สาธารณะ การทำ teambuilding หรือบทบาทในองค์กร หรือการอบรมด้านการบริหารจัดการหรือโปรแกรมโครงการด้านการจัดการการเปลี่ยนแปลงที่ออกแบบมาเพื่อสร้างความสุขในตัวพนักงาน กระแสแนวคิดนี้ได้ถูกนำมาใช้และได้เริ่มต้นแล้วจนพบกับความสำเร็จอย่างแพร่หลายในกลุ่มองค์กรที่มุ่งเน้นความสำเร็จในอนาคต
วันแห่งความสุขสากล : เวลาแห่งการสะท้อนคิดสิ่งที่ตัวเรามี
นอกเหนือจากเรื่องของตัวเลขแล้ว การให้การดูแลกับการลงทุนเรื่องความสุขในากรทำงานนั้นได่ส่งลกระทบต่อผู้คนในหลากหลายมิติซึ่งไม่สามารถวัดค่าได้อย่างเป็นเรื่องเป็นราว อย่างเช่นเรื่องของ wellbeing
วันความสุขสากลที่สสถาปนาขึ้นโดย UN นั้นเป็นแนวคิดริเริ่มที่ทำใหเรื่องนี้เป็นที่ได้รับความสนใจอย่างมาก ในวันที่ 20 มีนาคมของทุกปีจะได้รับการยอมรับว่าเป็นวันแห่งความสุขของปี นับตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมา โดยร่วมด้วยชาติสมาชิก UN กว่า 193 ประเทศที่ยอมรับเอาวันนี้เป็นวันแห่งการเรียกร้องความสุขให้เป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นของประเทศ และเนื่องจากเราได้ใช้เวลาหนึงในสามของชีวิตเราไปกับการทำงาน จึงเป็นเรื่องที่เราต้องแบ่งเวลาให้กับโอกาสนี้เพื่อพิจารณาว่าสิ่งที่เราทำจนเป็นธุรกิจนั้นได้ตอบโจทย์ความต้องการลำดับต้นๆ ของเราบ้างหรือไม่ อันที่จริงแล้ว “ความก้าวหน้านั้นไม่ใช่แค่การเติบโตในทางเศรษฐศาสตร์ แต่เกี่ยวกับประสบการณ์มนุษย์และวิธีการที่เราจะร่วมกันพัฒนามันให้ดีขึ้นได้”
เป็นเรื่องสำคัญเช่นกันที่ต้องย้ำว่า ในขณะที่วันความสุขสากลนั้นคือช่วงเวลาที่เราต้องให้ความสำคัญของพนักงานแต่ละคน แต่ละทีม และแต่ละหน่วยการทำงานที่จะต้องมีความสุขมากที่สุดกับการทำงาน และเป็นเรื่องสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เช่นเดียวกับการทำให้กลุ่มคนทำงานที่ไม่มีความสุขกับการทำงานมามีส่วนนร่วมเพื่อให้เกิดความสุขในการทำงานให้ได้ด้วย สำหรับคนที่คิดว่า “ฉันมีงานที่ดีแต่ว่าฉันไม่มีความสุข” หรือ “ฉันไม่มีความสุขกับงานของฉัน” นั้น เราเองก็รับรู้ถึงความรู้สึกของคุณเช่นกัน และคำถาม ณ จุดนนี้ก็มาถึงว่า อะไรที่เราสามารถสร้างความแตกต่างขึ้นมาเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้บ้าง?
แนวคิดหลักสี่ประการสำหรับความสุขของการทำงาน
ที่ PALO IT เราพยายามที่จะมองในแง่บวกเสมอ ซึ่งเราสร้างองค์กรที่มอบความสุขทุกวันและทัศนคติเชิงบวก ภูมิคุ้มกันต่อความทุกข์ในยามที่เกิดความไม่แน่นอน และสร้างความเชื่อมั่นในตัวบุคคลที่เราทำงานร่วมกันด้วย และเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของ OKR ในปี 2025 ของเรา เราได้ตัดสินใจที่จะพยายามมอบความสุขและวัดค่าความสุขอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งพยายามที่จะปรับปรงความสุขของพนักงานเสมอ แต่ว่าหัวข้อนี้นั้นได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของตัวตนของเราในฐานะองค์กรไปแล้วอย่างสมบูรณ์แบบ
ทางด้านของ Stanislas Bocquet ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งและ CEO ของ PALO IT ได้กล่าวว่า “การทำให้ทีมของเรามีความสุข … และการทำให้เรื่องนี้เป็นงานสำคัญอันดับหนึ่งขององค์กรนั้นคือโอกาสสำคัญที่จะสร้าง mindset เชิงบวกและสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้พนักงานเติบโตพร้อมกับพัฒนาศักยภาพให้สูงสุดถึงขีดจำกัดของเขาจนสามารถสร้าง value ให้กับองค์กรได้”
ประการแรกสุดคือการสร้างกุญแจสู่ความสำเร็จในการมีความสุขในการทำงาน ซึ่งจะเป็นรากฐานต่อยอดให้กับกิจกรรมต่างๆ การลงทุน ตลอดจนการสร้างความเจริญก้าวหน้าต่อไปอีกด้วย สำหรับเราแล้ว สิ่งนี้คือสิ่งที่สร้างโครงร่างให้กับแนวคิดหลักทั้งสี่ของเรา เราจะเข้าสู่รายละเอียดต่อไป แต่ก่อนอื่นใดเราจะไม่เล่าเรื่องทั้งหมด แต่เราอยากให้คุณได้รับฟังจากทีมของเราในเรื่องที่ว่าอะไรที่สำคัญกับพวกเขาเมื่อต้องสร้างความสุขในการทำงาน
จุดประสงค์
Aubrey Mazinyi ตำแหน่ง People & Culture Manager ที่ Sydney กล่าวว่า “ในแก่นแท้ของมันเองแล้วนั้น จุดประสงค์คือความสามารถในการทำงานที่จะบรรลุบางสิ่งที่มีความหมายมากๆ ต่อโลกทั้งใบ และต่อเราทุกคน หรือเป็นแค่ความรู้สึกว่าได้เติมเต็มสิ่งที่ขาดหายก็ได้”
คนเราทุกคนควรได้รับการเสริมแรงในการลงมือทำอะไรบางอย่างโดยมีจุดประสงค์ที่ตัวนำ และรู้สึกดีกับกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ เราตั้งใจที่จะใช้เทคโนโลยีเป็นกำลังที่สร้างสรรค์ทุกอย่างที่เราทำอย่างยั่งยืน และสถานะของเราในฐานะ B Corporation นั้นเป็นการสะท้อนคิดให้หวนนึกถึงเป้าหมายขององค์กรที่ซึ่งมีความยิ่งใหญ่กว่าที่ตั้งไว้มากมายนัก
เรายังเข้าร่วมในโครงการของลูกค้ามากมายที่แชร์ value นี้ร่วมกับเรา ซึ่งนั่นทำให้ทีมของเราทั่วโลกได้ทำงานเพื่อบรรลุสู่ความทะเยอทะยานของเราจนสามารถสร้างผลลัพธ์เชิงบวกในประชาคมที่เราเป็นส่วนหนึ่งบนโลกใบนี้ได้
การเติบโตของบุคคล
Prasad Wanigasinghe ตำแหน่ง Senior Software Engineer ประเทศ Singapore ได้กล่าวว่า “เพื่อนร่วมงานที่ช่วยเหลือกัน ความสมดุลของ work-life balance และโอกาสในการเติบโต”
โมเดลขององค์กรของเรานั้นยุดตามแนวคิดนี้ที่นำเสนอในรูปแบบของ “รวงผึ้ง” (hive structure) ที่เน้นการทำงานเป็น กลุ่มที่ซึ่งจะพัฒนาทักษะที่มาจากความเชี่ยวชาญที่มีแต่รวมถึงเป้าหมายในอนาคตอีกด้วย นอกเหนือจากนี้ เรายังได้โปรโมทการเข้าถึงแพล็ตฟอร์มสำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้กันด้วย และเราก็สนับสนุนการอบรม hard skill ต่างๆ อย่างเช่น Agile certification และ technical certification เรายังเสริมแรงให้กับการพัฒนา soft skills ต่างๆ ผ่านทางการอบรมในเรื่องของภาวะผู้นำ การจัดการด้านสภาพแวดล้อมการทำงาน และความหลากหลายกับการใส่ใจกลุ่มคนชายขอบด้วย
เรายังสร้างความสามารถผ่านทางการเข้าถึงอีเว้นต์ต่างๆ การสร้าง peer community และโอกาสในการที่ได้พูด นอกเหนือไปจากนี้ เรายังให้คุณค่ากับการทำงานร่วมกันระหว่างนานาชาติและส่งเสริมให้พนักงานของเราสร้างอาชีพด้วย PALO IT ที่อยู่ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก
การทำงานได้ด้วยตนเอง
Nicole Dolan ตำแหน่ง Senior UX&UI Designer จาก Sydney กล่าวว่า “ความหมายของความสุข สำหรับผมแล้วคืออิสระของตัวเลือกและความสามารถในการที่จะเป็นคนที่มีคุณลักษณะเฉพาะที่เราเป็น”
ในฐานะที่เป็นองค์กรที่ล้ำหน้าและมีความเป็น Agile และเราส่งเสริมการสื่อสารแบบทางตรง การคิดแบบ critical thinking และความสามารถด้าน problem-solving ที่ต่อเนื่อง ทักษะเหล่านี้ทำให้พนักงานทุกคนทำงานในลักษณะที่โน้มนำไปสู่สมรรถภาพสูงสุดที่เขามี รวมทั้งรู้สึกมีความรับผิดชอบส่วนตัวต่อการกระทำของตนเองและเล็งเห็นถึงผลกระทบต่อประชาคมส่วนใหญ่ด้วย
ในปัจจุบัน เรามีเอกลักษณ์ตัวตนตามแบบที่องค์กรแห่งนวัตกรรม (innovative business) มี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกของอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ด้วยวิธีการทำงานแบบ Work from home จำนวนมาก หรือการทำงานจากที่ห่างไกลจากทีมเป็นระยะเวลานานๆ ณ จุดนี้ เราได้ผสานรวมการทำงานแบบ remote working ในทุกแง่มุมขององค์กรของเรา
ความรู้สึกเป็นสังคมร่วมกัน
Alix Virot ตำแแหน่ง Full Stack Developer จาก Paris กล่าวว่า “เป็นเรื่องของความน่าเชื่อถือและ team spirit
เราภูมิใจที่องค์กรเรามีพนักงานจากประเทศต่างๆ กว่า 40 ประเทศในทีมของเรา และเราใช้ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและสถานที่ที่อยู่แยกส่วนกันนี้เป็นความสามารถที่เก่งที่สุดของเราแล้ว คุณสามารถร่วมเป็นเพื่อนกับพนักงานของ PALO IT ใน 5 ภาคพื้นทวีปแล้วและมีบ้านอยู่ในสำนักงานต่างๆ ทั่วโลก
เรายังได้จัดกิจกรรม team building อย่างสม่ำเสมอและมีการจัดกิจกรรมสันทนาการด้วย เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของ PALO IT experience ที่ทำให้มั่นใจได้ว่า ไม่ว่าพนักงานตำแหน่งไหนหรือมีความสนใจส่วนตัวแบบใด เราก็สามารถเสริมสร้างจิตวิญญาณของการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมได้อย่างที่ทุกคนหลอมหลวมกันเป็นหนึ่งเดียว
นอกจากนั้น ยังมีกลุ่มที่สมัครใจเข้าร่วมที่มาร่วมสร้างตัวตนกันโดยที่มาจากทีมต่างๆ กัน ดังนั้น การแสวงหาเหล่านี้ได้สร้างผลกระทบและสร้างความรู้สึกของการมีส่วนร่วมที่จะสามารถทำให้เป็นจริงได้ผ่านทาง local community ในจุดต่างๆ
เพื่อส่งเสริมให้เกิดการทำงานร่วมกันและความเชื่องโยงที่แน่นแฟ้น เรายังมีแผนที่จะลงทุนไปกับการมีสำนักงานที่มีความเปิดเผย ยอมรับบรรยากาศการทำงาน ที่ซึ่งความฉลาดที่มีร่วมกันจะสามารถแสดงให้เห็นหนทางที่ดีที่สุดที่เป็นไปได้
การวัดระดับความสุขของพนักงาน
คำพูดคือสิ่งสำคัญ แต่ก็จะเงียบหายเลยไม่ได้ ใครๆ ก็สามารถเขียน manifesto ได้ แต่จะปฏิบัติอย่างไร? เราจะสามารถสร้างตัวตนที่กลายเป็นคุณลักษณะบุคคลจริงๆ ได้ เราจะสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มีพื้นฐานบนความสุขและส่งผลเชิงบวกแก่คนรอบข้างได้อย่างไร? อาจเป็นเรื่องที่ซับซ้อนเมื่อคุณเริ่มที่จะพิจารณาการวัดอะไรบางอย่างที่มีความคิดเห็นอิงตามตัวบุคคล เช่นความหมายของความสุขที่มีในตัวแต่ละคน
การตอบคำถามนี้อาจง่ายกว่าที่คุณคิดไว้ นั้นคือ การยอมรับฟัง ลองถามหา feedback และเปิดเผยตัวตนของคุณให้รับฟัง constructive critism ได้และรับฟังมันนำมาเป็นส่วนของการพัฒนา นั่นคือส่วนหนึ่งของกระบวนการ Agile เช่นกัน นอกจากนี้ จากแบบสำรวจที่ไม่เปิดเผยข้อมูลต่างๆ เราได้ถามพนักงานว่าอะไรที่สำคัญต่อพวกเขาในการทำงานแต่ละวัน อะไรที่ดำเนินไปได้ดีและอะไรที่พวกเขาต้องการปรับปรุง
จากคำตอบที่ได้มา เราสร้างดัชนี PALO IT Happiness Index ของเราขึ้นมาเอง เราพบว่าสิ่งที่ใช้การได้จริงสำหรับตัวบุคคล ทีม และหน่วยงานนั้นมีความพึ่งพาอาศัยกันกับวัฒนธรรมองค์กรและสถานะความสัมพันธ์กันในปัจจุบัน ซึ่งต้องยอมรับว่าไม่มีอะไรที่พร้อมและลงตัวไปหมดสำหรับทุกสิ่งสำหรับกลยุทธ์เรื่องการสร้างความสุขให้พนักงาน เราจะต้องใช้พนักงานและเพื่อนร่วมงานเป็น barometer เพื่อวัดจุดที่เราจำเป็นต้องปรับแต่งด้วย
เรามีความสุขที่จะได้ลงในรายละเอียดและ framework สำหรับดัชนีชี้วัดของเรา หากคุณสนใจ โปรดติดต่อเราได้เสมอ
ความสุขในการทำงานนั้นเป็นเรื่องที่บุคคลต้องการคำนึงถึง มันจำเป็นต้องมีการร่วมกันทำงาน เราได้เชื่อมต่อกับทีมงานของเรา รวมทั้งเนื้องาน และกลุ่มคนที่อยู่รอบๆ เรา ในกิจกรรมแต่ละวัน หากเราเริ่มถามคำถามที่สำคัญมากในตอนนี้ว่า “ฉันกำลังมีความสุขอยู่หรือไม่” “ทีมของฉันมีความสุขดีหรือไม่” “เราจะปรับปรุงได้อย่างไร” ก็จะพบสิ่งดีๆ ต่างๆ หลายอย่างตามมา
นี่คือเรื่องราวของเรา และในส่วนของเรื่องของคุณบ้างล่ะ? เราจะร่วมกันทำงานในเรื่องนี้ได้อย่างไร? ลองนำเสนอให้ทีมรับทราบ และร่วมกันสร้างสถานที่การทำงานที่ต้องเดินทางมาทำงานร่วมกัน